ถ้าความผันแปรของลมฟ้าอากาศยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ จะเกิดขึ้นควบคู่กันไป โดยที่จำนวนวันที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าขีดจำกัด จะเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของเมือง มิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี ค.ศ. 1980 วันที่ร้อนที่สุดในฤดูร้อน อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย 2-3? ซ. และประเมินได้ว่าในปี ค.ศ. 2050 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะทำให้วันที่ร้อนมาก ๆ ในกรุงวอชิงตัน ถี่มากขึ้นหลายเท่า และจะเกิดฤดูร้อน ที่ร้อนอย่างผิดปกติในประเทศอังกฤษ
จากการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วในเขตอบอุ่น พบว่า การเสียชีวิต จะลดน้อยลงตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน จากแผนการคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ศึกษาในประเทศอังกฤษ พยากรณ์ว่า อุณหภูมิในฤดูหนาวจะเพิ่มสูงขึ้น 2-2.5? ซ. และจะทำให้ผู้เสียชีวิต ที่สัมพันธ์กับฤดูหนาวปีละ 9,000 คน ลดน้อยลงภายในปี ค.ศ. 2050 ผู้ที่รอดชีวิตมากกว่าครึ่ง เนื่องจากรอดพ้นจากโรคหัวใจ และ 5-10% รอดพ้นจากโรคปอด และหลอดลมอักเสบ แต่อัตราการเสียชีวิตในฤดูร้อน จะเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอย่างดีแล้วถึงอิทธิพลทันทีทันใด ที่มีต่อสุขภาพเมื่อต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่รุนแรงมาก ๆ แต่อิทธิพลระยะยาวของภูมิอากาศโดยตรงนั้น ยังคงมีความเข้าใจน้อยมาก เพียงแต่คาดหมายว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีอิทธิพลต่อเชื้อโรค มีผลต่อคนที่ต้องเผชิญกับภูมิอากาศ ที่รุนแรงมาก ๆ ทันทีทันใด แต่ยังไม่ได้ศึกษาในเชิงปริมาณแต่อย่างใด ดังนั้น การคาดหมายความรุนแรง ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระยะยาว ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อย่างมีกฎเกณฑ์นั้น ยังกระทำไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์สามารถปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ จึงไม่เห็นผลกระทบ ที่เกิดจากภูมิอากาศชัดเจน เหมือนกับผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเกิดโรคติดต่อ
ในต้นศตวรรษที่ 20 สามารถควบคุมโรคติดต่อได้โดยทั่วไป แต่ปัจจุบันโรคติดต่อเก่า ๆ ได้กลับเกิดขึ้นมาใหม่ ในหลายส่วนของโลก พิษจากอาหารก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย สถานการณ์นี้ สะท้อนถึงผลรวมระดับโลก ที่ไม่เคยมีมาก่อนของปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากร อย่างรวดเร็ว การตั้งถิ่นฐาน ที่หนาแน่นมากตามขอบ ๆ ของป่า มนุษย์มีความรู้สึกไม่สบายมากขึ้น มีการค้าขายระยะทางไกล ๆ มีการใช้ยาฆ่าแมลง และยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ปัญหาสังคมและการเมือง และความผันแปรทางภูมิอากาศ ในระดับภูมิภาค
มีกระบวนการและสิ่งมีชีวิตมากมาย ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคติดต่อที่แผ่เป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทธิพลจากความไม่แน่นอนของภูมิอากาศ ตัวการเด่น ๆ คือ อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และความชื้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผันแปรทางภูมิอากาศปกติ ดังเห็นได้ชัดว่าเกิดโรคติดต่อตามฤดูกาลขึ้น ดังนั้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในระดับภูมิภาคขึ้นแล้ว คาดหมายได้ว่า จะเป็นสาเหตุให้รูปแบบของโรคติดต่อ และโรคพิษจากอาหาร ขยับเลื่อนไปเป็นบริเวณกว้าง เช่น การร้อนขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่กระจายไปตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (ทั้งตามความสูงและตามเส้นละติจูด) ทำให้ตัวนำเชื้อโรค มีศักยภาพในการแพร่กระจาย ได้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ยังสามารถเปลี่ยนวงจรการเคลื่อนไหว ของทั้งตัวนำโรค และตัวเชื้อโรค ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้เชื้อโรค แพร่กระจายได้ดีมากยิ่งขึ้น
การแพร่กระจายของโรคที่ไม่ต้องมีตัวนำ บางครั้งก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยเช่นกัน เช่น โรคอุจจาระร่วง (Faecaloral infections) โรคจากอาหารเป็นพิษ (Foodborne disease) และโรคติดต่อ ที่แพร่กระจายโดยตรง จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง แม้ว่าโรคติดต่อเหล่านี้ จะเกิดเป็นโรคขึ้นได้ ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย แต่ปัจจัยด้านอุณหภูมิ และความชื้นก็มีส่วนสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ ปัจจัยทางภูมิอากาศ ยังมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแพร่กระจาย ของโรคติดต่อได้อีกด้วย ดังนั้น แม้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย จากระดับที่มนุษย์ทนได้แล้ว จะมีผลทางอ้อมส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทันที
ปัจจัยทางภูมิอากาศที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวนำเชื้อโรค
อิทธิพลทางอ้อมของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อตัวนำเชื้อโรค
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศน่าจะมีอิทธิพลทางอ้อมต่อชนิด และจำนวนของตัวนำเชื้อโรค เช่น ตัวนำเชื้อโรคชนิดหนึ่ง อาจจะถูกแทนที่โดยตัวนำอีกชนิดหนึ่งได้ ตามการเคลื่อนย้ายไปของสภาพแวดล้อม ตัวนำเชื้อโรคที่เข้ามาแทนที่ จะแตกต่างจากตัวนำเชื้อโรคเดิม อย่างสิ้นเชิง เพราะว่าความสามารถจะอยู่รอดได้ ของตัวนำเชื้อโรคแต่ละชนิด นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ การแพร่กระจายของโรค จะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยตามชนิดของตัวนำเชื้อโรคนั้น ๆ
Anopheles หลายชนิดรวมทั้งไข้มาลาเรีย ที่ตัวนำเหล่านี้เป็นตัวแพร่กระจาย ได้สูญหายไปจากพื้นที่ ที่เคยเป็นป่าหนาทึบมาก่อน เนื่องจากต้นไม้ ละสัตว์ต่าง ๆ ที่ตัวนำเชื้อโรค องพึ่งพาถูกทำลาย หรือเคลื่อนย้ายไปที่อื่น นอกจากนี้การอยู่รอดของ หมัด เห็บ เล็น ไร ต่างก็ขึ้นอยู่กับต้นไม้ และสัตว์ในท้องถิ่นนั้นเช่นเดียวกัน สิ่งปกคลุมดินต่าง ๆ จะก่อให้เกิดลักษณะภูมิอากาศใกล้ผิวดิน ที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของสัตว์ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของตัวนำเชื้อโรค
การทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอาจเป็นผลดีต่อตัวนำเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น การทำลายป่า ในบริเวณประเทศอินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย ทำให้ตัวนำเชื้อโรค ที่อยู่ในกลุ่มของ An.Punctulatus เจริญเติบโตได้ดี ทำให้โรคไข้มาลาเรียแพร่กระจายได้มากขึ้น เรียกโรคไข้มาลาเรียที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ว่า “ไข้มาลาเรียที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์” (Human-made malaria) การเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตร อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ก็จะมีผลกระทบ ต่อชนิดของตัวนำเชื้อโรคด้วยเช่นกัน เช่น ในพื้นที่ที่มีการชลประทาน เท่ากับเป็นการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ให้มากขึ้น และยังทำให้ จำนวนทากเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรค Schistosomiasis การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล จะทำให้พื้นที่ชายฝั่งน้ำท่วมมากขึ้น กลายเป็นบริเวณน้ำกร่อย ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของตัวนำเชื้อโรค ที่ชอบน้ำกร่อย คือ An.Subpictus และ An.Sundaicus
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่ต้องอาศัยตัวนำเชื้อโรค
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการพยายามพยากรณ์อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่มีต่อการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่ต้องอาศัยตัวนำเชื้อโรค มีดังต่อไปนี้
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อโรคไข้มาลาเรีย
ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในหลายส่วนของโลกที่พัฒนาแล้ว เต็มไปด้วยไข้มาลาเรีย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางตะวันตก และทางใต้ของทวีปยุโรป และทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย ประมาณว่าปัจจุบันประชากรโลก 1คน ใน 20 คน ติดเชื้อไข้มาลาเรีย ปีหนึ่ง ๆ มีประชากรที่ติดเชื้อไข้มาลาเรีย ประมาณ 350 ล้านคน และประมาณว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย ปีละ 2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา
ไข้มาลาเรียเกิดจาก Plasmodium parasite ผ่านเข้าสู่มนุษย์ได้ โดยยุงเพศเมีย ที่อาศัยเลือดมนุษย์ในการเจริญเติบโต Plasmodium parasite เจริญได้อย่างดีในตับ และเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ซึ่งจะติดไปกับยุงที่กัดบุคคลนั้น และถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่น การควบคุมโรคไข้มาลาเรีย มีความยากลำบากมาก และปรากฏชัดว่า โรคไข้มาลาเรียในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากกว่าในอดีต
จากหลักฐานที่ผ่านมาไม่นาน พบว่า การเกิดโรคไข้มาลาเรีย เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ของท้องถิ่นนั้น ที่เด่นชัดมาก คือ การแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความสูง ระหว่างการเกิดสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างผิดปกติ ในประเทศรวันดา ในปี ค.ศ. 1984
อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า และสภาพลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก ๆ ก็มีอิทธิพลต่อการอยู่รอด และการกระจาย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของยุง Anopheline ที่เป็นตัวแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรีย ในแถบละติจูดสูง ๆ ขึ้นไป ก็สามารถอยู่รอดได้ โดยอาศัยที่กำบัง ในช่วงที่อากาศหนาว ซึ่งเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ แต่กิจกรรมของยุง Anopheline ทั้งหมดจะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 22? ซ. นอกจากนี้ยังมียุงชนิดอื่น ๆ ที่แพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรีย Falciparum ในเขตอบอุ่น สามารถอยู่รอดได้ แม้อุณหภูมิต่ำกว่า 22? ซ. แต่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาว ลดลงต่ำกว่า 16-18? ซ. ดังนั้น การร้อนขึ้นในเขตอบอุ่น จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของยุงเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การอยู่รอดของยุง จะอ่อนไหวง่ายมาก ตามความชื้นสัมพัทธ์ ในขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้รับหยาดน้ำฟ้าเพิ่มเติม อายุของยุง จะสั้นลง และอาจทำให้ การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรียในเขตร้อน ลดลงได้ด้วย
วงจรการฟักตัวของเชื้อไข้มาลาเรีย Plasmodium จะอ่อนไหวตามอุณหภูมิมาก ซึ่งเป็นปัจจัยควบคุม ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแพร่กระจายของโรค อุณหภูมิที่พอเหมาะ ต่อการขยายพันธุ์ของเชื้อไข้มาลาเรีย Plasmodium ชนิดต่างๆ ที่อยู่ในยุง คือ เชื้อ P.vivax 25?ซ. เชื้อ P.falciparum 30?ซ.และเชื้อ P.malariae 22?ซ. เชื้อ Plasmodium ทั้งหมดจะไม่ขยายพันธุ์ ในอุณหภูมิที่นอกเหนือจากช่วง 14-38? ซ. เช่น การขยายพันธุ์ของ เชื้อ P.vivax จะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 14-16? ซ. และเชื้อ P.falciparum เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 18-20? ซ. ดังนั้น เพียงแต่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด สูงขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ก็จะทำให้การฟักตัวของเชื้อไข้มาลาเรียเร็วขึ้นอย่างมาก
ถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดอัตราการอยู่รอดของทั้งตัวนำเชื้อโรค และตัวนำเชื้อโรคเอง แต่หยาดน้ำฟ้า ก็มีอิทธิพลโดยตรง ต่อความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเพาะพันธุ์ และความหนาแน่น ของตัวนำเชื้อโรคด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ตัวนำเชื้อโรคในกลุ่ม Anopheles punctulatus ที่ขยายพันธุ์ในโคลนตม ซึ่งมีอยู่ในบริเวณประเทศอินโดนีเซีย-ออสเตรเลีย การขยายพันธุ์ จะสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับหยาดน้ำฟ้าประจำวัน ในระหว่างที่เกิดภาวะแห้งแล้งรุนแรง จนทำให้แม่น้ำแห้งขอดกลายเป็น โคลน ตม ในท้องแม่น้ำ นำไปสู่การขยายพันธุ์ของตัวนำเชื้อโรค ที่รุนแรงมาก ดังกรณีที่เกิดขึ้น ในประเทศศรีลังกา ระหว่างปี ค.ศ. 1934-1935 ที่เกิดโรคระบาด จากตัวนำโรค An.culicifacies
นอกจากอุณหภูมิและความชื้นแล้ว การกระจายของโรคไข้มาลาเรีย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น การอยู่รอดของตัวนำโรค Anopheline จะต้องมีสัตว์ให้ตัวนำนี้ เป็นที่อาศัยเกาะกิน นอกจากนี้ ความรุนแรงของการแพร่กระจาย ก็จะผันแปรไปตามปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกัน พฤติกรรมของมนุษย์ และระดับความเอาใจใส่สุขภาพที่มีอยู่ ก็เป็นตัวบ่งบอกถึง ศักยภาพของการแพร่กระจายของโรคได้ว่า เพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ในเขตร้อน การจัดการสิ่งแวดล้อม และการควบคุมตัวนำเชื้อโรค โดยใช้หลักการทางชีววิทยา และยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี ซึ่งได้พิสูจน์ แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูง ในการลดการแพร่กระจายของโรค ในทางตรงข้าม ถ้าหากการเฝ้าระวัง และการป้องกัน ในการเอาใจใส่สุขภาพ ไม่เพียงพอหรือขาดแคลนแล้ว การแพร่กระจายของโรค จะเกิดเพิ่มมากขึ้น
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับศักยภาพของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อโรคไข้มาลาเรีย
การประเมินเชิงปริมาณถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อศักยภาพ การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย กระทำได้จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ คำว่า “ศักยภาพ” ในที่นี้ หมายถึง การพยากรณ์จากแบบจำลอง ที่คาดว่าจะเกิดโรคไข้มาลาเรียขึ้น ตามปัจจัยทางภูมิอากาศ และที่สัมพันธ์กับสิ่ง แวดล้อม แบบจำลองไม่ได้พิจารณาถึง การศึกษาเรื่องประชากร ลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจ และฐานะทางวิชาการ ซึ่งอาจเป็นตัวจำกัด การแพร่กระจายของโรคได้
แบบจำลองง่าย ๆ ที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยรายปี ฝนรวมรายปี และโรคไข้มาลาเรียที่เกิดขึ้น ในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งแบบจำลองพยากรณ์ว่า ภายใต้แผนการคาดหมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่อยู่ในช่วงระดับปานกลาง จากอัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรีย ที่เป็นอยู่ปัจจุบันในแต่ละปีนั้น จะทำให้มีผู้เป็นโรคไข้มาลาเรีย 2,705 คน ต่อประชากร 10,000 คน ภายในปี ค.ศ. 2010 และประมาณ 25 % ของประชากรทั้งหมด จะเป็นโรคไข้มาลาเรีย ในประมาณปี ค.ศ. 2070 ค่าการประมาณนี้ อยู่บนสมมติฐานที่ว่า ความพยายามของประเทศอินโดนีเซีย ในการป้องกัน หรือควบคุมโรค ไข้มาลาเรีย อยู่ในอัตราคงที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การประเมินค่าการพยากรณ์ อย่างเฉพาะเจาะจงนี้ ยากมาก
จากการสร้างแบบจำลองรวมที่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์เชิงปริมาณ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีต่อการกระจายตัวนำเชื้อโรคไข้มาลาเรีย ในระดับโลก ซึ่งแบบจำลองทุกแบบ พยากรณ์ว่า ศักยภาพการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จะเพิ่มมากขึ้น ปรากฏชัดจากแบบจำลองว่า ที่อยู่อาศัยของตัวนำเชื้อโรค จะเลื่อนขยับกว้างมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงความสามารถ ที่จะอยู่รอดได้ของตัวนำเชื้อโรค ซึ่งอาจทำให้ศักยภาพการแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย เป็นไปได้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณี ที่ระดับความทนทานต่อโรค ของประชากร เป็นตัวการในการกำหนดภาวะวิกฤต กล่าวคือ บริเวณที่มีโรคไข้มาลาเรีย เป็นโรคประจำท้องถิ่น ประชากร จะมีความทนทานต่อโรคสูง ผลกระทบของภูมิอากาศ ที่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้น ของการแพร่กระจายโรคไข้มาลาเรีย จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าที่จะเกิดกับ ประชากรที่มีระดับความทนทานต่อโรคต่ำ บริเวณที่ในชั้นแรก มีโรคไข้มาลาเรียไม่สม่ำเสมอ ภูมิอากาศ ที่เหนี่ยวนำให้ อัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรีย มากขึ้นนั้น จะเป็นสาเหตุทำให้ การแพร่กระจายของโรค สม่ำเสมอขึ้น บริเวณที่อยู่ในที่สูง ๆ เช่น ทางตะวันออก ของทวีปแอฟริกา บริเวณเทือกเขาแอนดิส ในทวีปอเมริกาใต้ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หลายองศาเซลเซียส อาจทำให้การแพร่กระจาย ของโรคไข้มาลาเรีย ขยับสูงขึ้นด้วย พอที่จะเปลี่ยนให้ บริเวณที่เคยเป็นเขตปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย เป็นบริเวณที่มีโรคไข้มาลาเรียระบาด เป็นครั้งคราว ตามฤดูกาลได้ ประชากรที่อาศัย ในเมืองใหญ่ ๆ ในที่สูงซึ่งอยู่นอกเขต โรคไข้มาลาเรีย และปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นเขตปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย ก็จะได้รับผลกระทบทั้งหมด เช่น กรุงไนโรบี ประเทศคีนยา เมืองฮาเรเร ประเทศซิมบับเว ยุงจะตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวดเร็วมาก การเกิดโรคไข้มาลาเรีย กับประชากรเหล่านี้ เป็นหลักฐานเบื้องต้น ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิอากาศ กับการแพร่กระจาย ของโรค
ได้มีการประเมินว่า ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น หลายองศาในปี ค.ศ. 2100 แล้ว จะทำให้ความสามารถ ในการนำเชื้อโรคของยุงในประเทศเขตร้อน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และในประเทศ แถบอบอุ่น จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่า อย่างไรก็ตาม ในประเทศแถบอบอุ่น การมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง เช่น การเฝ้าระวังโรค และการบำบัดได้อย่างฉับพลัน อาจเป็นตัวขัดขวางความสามารถ ในการนำเชื้อโรคของยุง ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จึงไม่น่าจะก่อให้เกิด เป็นโรคเรื้อรังประจำท้องถิ่น ในประเทศเหล่านี้
กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า ผลจากแบบจำลอง พบว่า ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 21 เปอร์เซนต์ของประชากรโลก ที่จะอาศัยอยู่ในเขตที่มีการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย จะเพิ่มสูงขึ้นจาก 45% เป็นประมาณ 60%
เป็นไปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสาเหตุให้โรคไข้มาลาเรีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ P.falciparum) แผ่ขยายกว้างออกไป ในประเทศเขตร้อน ทั้งตามเส้นละติจูด และตามความสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบถึง รูปแบบการแพร่กระจายของโรคไข้มาลาเรีย ในประเทศเหล่านี้ เช่น การแพร่กระจาย อาจเป็นไปได้ตลอดทั้งปี ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ต่อการขยายพันธุ์ตลอดปี ไม่ใช่เฉพาะฤดูกาลดังแต่ก่อน
การคาดหมายจากแบบจำลองต่างๆ พิจารณาเฉพาะผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยตรงเท่านั้น การแปลความหมายผล จากแบบจำลองรวมระดับโลก จะต้องพิจารณาถึง สภาพของท้องถิ่นด้วย เช่น มาตรการการควบคุม การบริการอนามัย แหล่งที่อยู่ของตัวนำเชื้อโรค ที่เกาะกินสัตว์อื่น และความหนาแน่นของยุง ยิ่งกว่านั้น ผลจากแบบจำลอง ควรได้รับการตรวจสอบ อย่างระมัดระวัง จนกระทั่งเชื่อถือได้อย่างมีเหตุผล กับข้อมูลในอดีต ยังมีความต้องการรายละเอียด ที่กว้างขวางกว่านี้อีกมาก ที่จะรวมเข้าไว้ในแบบจำลอง แม้ว่าจะยาก แต่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ก็ยังเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ ในการศึกษาผลกระทบ ของภูมิอากาศ ที่มีต่อโรคที่ต้องมีตัวนำเชื้อโรค และยังชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การเคลื่อนไหวของประชากรตัวนำเชื้อโรค และการเคลื่อนไหวของโรค ของมนุษย์